วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไข้ไทฟอยด์ Typhoid fever

ไข้ไทฟอยด์คืออะไร

ไข้ไทฟอยดท์เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Salmonella Typhi เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำและอาหาร หากการสาธารณะสุขดีการระบาดของเชื้อนี้จะลดลง

คนรับเชื้อนี้ได้อย่างไร

คนจะรับเชื้อนี้จากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค คนที่เป็นโรคจะขับถ่ายเชื้ออกทางอุจาระ เชื้อนี้อาจจะปนเปื้อนในน้ำตามธรรมชาติ หรืออาจจะปนเปื้อนอาหาร ผู้ป่วยบางคนจะมีเชื้อในร่างกายที่เรียก carrier ซึ่งสามารถขับเชื้อออกสิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีอาการเมื่อคนได้รับเชื้อ เชื้อจะเข้าสู่ลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม โดยทางกระแสเลือด

อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร

หลังจากได้รับเชื้อนี้1-2 สัปดาห์ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดอาการเบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดตามตัว มีไข้สูง 40.5 องศา มีอาการท้องร่วง บางรายอาจจะมีผื่นขึ้นตามตัว บางรายอาจจะมีอาการแน่นท้อง หากไม่รักษาผู้ป่วยบางรายหายเองได้ใน3-4 สัปดาห์

การวินิจฉัย

สามารถเพาะเชื้อจากเลือดในสัปดาห์แรก การวินิจฉัยอย่างอื่นไม่บ่งจำเพาะ

การรักษา

ก่อนที่จะมียาปฏิชีวนะอัตราการตายประมาณร้อยละ 10 แต่หลังจากมียาปฏิชีวนะอัตราการตายลดลงผู้ป่วยอาจจะตายจากปอดบวม ลำไส้ทะลุถ้าผู้ป่วยเพลียมากก็ให้น้ำเกลือ และยาปฏิชีวนะ

โรคแทรกซ้อน

-เลือดออกทางเดินอาหาร
-ลำไส้ทะลุ
-ไตวาย
-ช่องท้องอักเสบ


การป้องกัน

-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อโรค
-ให้ดื่นน้ำต้มสุกทุกครั้ง
-น้ำขวดจะมีความปลอดภัยสูงกว่าน้ำดื่มทั่วไป
-เวลาดื่มน้ำไม่ต้องใส่น้ำแข็ง
-รับประทานอาหารที่ทำให้สุกใหม่ๆ
-ผักหรือผลไม่ต้องล้างให้สะอาดจริงๆเพราะปนเปื้อนเชื้อได้ง่าย
-ผลไม้ที่มีเปลือกให้ปลอกเปลือกออก
-ล้างมือก่นรับประทานอาหารทุกครั้ง
-หลีกเลี่ยงอาหารจากร้านค้าข้างถนน

ไข้ทัยฟอยด์ และไข้พาราทัยฟอยด์
(Typhoid fever and Paratyphoid fever)
ลักษณะโรค :


เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียทั่วร่างกายโดยมีอาการไข้ลอย ปวดศีรษะอ่อนเพลียเบื่ออาหารไอแห้งๆพบอาการท้องผูกในผู้ใหญ่มากกว่าท้องร่วงอาการแสดงได้แก่ หัวใจเต้นช้าม้ามโตมีผื่นดอกกุหลาบ (rose spots)นอกจากนี้ ยังมีผลต่อเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองพบการติดเชื้ออย่างอ่อนๆหรือการติดเชื้อแบบ atypical ได้บ่อย

ในผู้ป่วยไข้ทัยฟอยด์แผลในลำไส้เล็ก(ulcerationofPeyer’s patches) ทำให้เกิดเลือดออกในลำไส้ หรือลำไส้ทะลุได้(พบได้ประมาณ1 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วย)โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษามีอาการไข้ไม่มีเหงื่อ และประสาทเฉื่อยชา อาจจะสูญเสียความรู้สึกของการได้ยินบ้างเล็กน้อยและอาจมีการอักเสบของต่อมพาโรติด (parotid gland ) อัตราป่วยตายตามปกติ 10 เปอร์เซ็นต์อาจจะลดเหลือต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพทันท่วงที การกลับเป็นโรคใหม่พบประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาและในกลุ่มที่ได้รับยาต้านจุลชีพจะยิ่งพบได้สูงขึ้นถึง 15-20 เปอร์เซ็นต์ส่วนที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่ปรากฎอาการนั้น พบได้ในพื้นที่ที่เกิดโรคเป็นประจำ

ไข้พาราทัยฟอยด์มีอาการคล้ายคลึงกันเพียงแต่อาการไม่รุนแรงเท่าทัยฟอยด์ และมีอัตราป่วยตายต่ำกว่ามากการกลับเป็นโรคใหม่อาจพบได้ประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยถ้าเมื่อใดไม่ใช่เป็นการติดเชื้อซัลโมเนลล่าทั่วร่างกาย อาการที่แสดงจะมีเพียงกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเท่านั้น

เชื้อก่อโรค :เชื้อก่อโรค :

ไข้ทัยฟอยด์เกิดจากเชื้อ Salmonella typhiที่เป็นแบคทีเรียชนิดแท่งสามารถแยกออกได้เป็น 106 types โดยวิธี phage typingซึ่งมีประโยชน์ต่อการศึกษาระบาดวิทยาของโรค

ไข้พาราทัยฟอยด์เกิดจากเชื้อ3serotypesดังนี้(1) SalmonellaparatyphiA, (2) S. paratyphi B (S. schottm?lleri)และ(3) S. paratyphi C (S. hirschfeldii)และสามารถแยกเป็น phage types ต่าง ๆ ได้อีก

แหล่งรังโรค :

คนเป็นแหล่งโรคของไข้ทัยฟอยด์และไข้พาราทัยฟอยด์ พบน้อยมากที่สัตว์เลี้ยงเป็นแหล่งโรคของพาราทัยฟอยด์ผู้สัมผัสโรคในครอบครัวอาจเป็นพาหะชั่วคราวได้ส่วนใหญ่ของโลก พบว่ามีพาหะที่ปล่อยเชื้อทางอุจจาระได้มากกว่าพาหะที่ปล่อยเชื้อทางปัสสาวะการเป็นพาหะอาจเป็นได้ หลังจากมีอาการป่วยแบบเฉียบพลัน หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลยก็ได้ ระยะที่คงสภาพของพาหะอยู่ได้นาน (Chroniccarrier)พบได้บ่อย ๆ ในผู้ป่วยวัยกลางคน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงคนที่เป็นพาหะ มักเป็นผู้มีพยาธิสภาพของถุงน้ำดีในรายที่เป็นพาหะที่ปล่อยเชื้อทางปัสสาวะได้นานพบในการติดเชื้อ Schistosomahaematobium ในคราวที่เกิดการระบาดของไข้พาราทัยฟอยด์ในอังกฤษพบเชื้อ S. paratyphi B ออกมากับน้ำนม และอุจจาระของวัว

วิธีการแพร่เชื้อ :

จากอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วยและคนที่เป็นพาหะในบางพื้นที่ของโลกนี้ พบพาหะที่สำคัญ ได้แก่หอยปูกุ้งที่จับได้จากบริเวณแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนน้ำเสียจากท่อระบายผลไม้สดหรือผักสดที่ใช้ปุ๋ยอุจจาระรด หรือนม และผลิตภัณฑ์นมที่มีการปนเปื้อน (โดยทั่วไปจะปนเปื้อนเชื้อโรคมาจากมือของคนที่เป็นพาหะ) ตลอดจนผู้ป่วยที่ไม่ถูกค้นพบแมลงวันอาจทำให้อาหารอาหารปนเปื้อนเชื้อโรคแล้วเพิ่มจำนวนมากขึ้นจน ถึงขนาดที่ทำให้เกิดโรคได้

ระยะฟักตัว :

ขึ้นอยู่กับจำนวนของเชื้อที่ได้รับ ตามปกติมีช่วงอยู่ระหว่าง 1-3 สัปดาห ์แต่สำหรับไข้พาราทัยฟอยด์ที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ใช้เวลา 1-10 วัน

ระยะติดต่อของโรค :

พบเชื้อได้ตลอดเวลาที่มีเชื้อออกมากับสิ่งขับถ่ายตามปกติตั้งแต่สัปดาห์แรกจนถึงฟื้นไข้ หลังจากนั้นก็แตกต่างกันไป (ตามปกติ 1-2 สัปดาห์สำหรับไข้พาราทัยฟอยด์)ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของคนไข้ทัยฟอยด์ที่ไม่ได้รับการรักษาจะปล่อยเชื้อแบคทีเรียเป็นเวลา 3 เดือน หลังจากที่มีอาการ และ 2-5 เปอร์เซ็นต์ ที่กลายเป็นพาหะถาวรในบางคนที่ได้รับเชื้อพาราทัยฟอยด์อาจกลับกลายเป็นพาหะที่ถุงน้ำดีได้ตลอดไป

แหล่งข้อมูล

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/typhoid_fever.htm

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Lucky Club Casino Site Review 2020
Lucky Club Casino is a new site that is popular amongst players across the world. With a well-established luckyclub reputation, Lucky Club Casino is Bonus: 125 SpinsBonus Valid: December 2021